วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

แนวความคิดของกาเย่

เพื่อให้ได้บทเรียนที่เกิดจากการออกแบบในลักษณะการเรียนการสอนจริง โดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หลักการสอนทั้ง 9 ประการได้แก่

  • เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)
  • บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)
  • ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knoeledge)
  • นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information)
  • ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)
  • กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)
  • ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)
  • ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance)
  • สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)

CAI คือ โปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่มีหน้าที่เป็นสื่อการเรียนการสอน

เหมือนแผ่นใส (Transparent) สไลด์ (Slide) หรือวีดีทัศน์ (Video) ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน
เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายในเวลาอันจำกัด และตรงตามวัตถุประสงค์ของบทเรียนนั้น ๆ แต่เนื่องจาก
โปรแกรมเรียนคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่ได้ครบทุกสื่อในเวลาเดียวและควบคุมการนำเสนอได้ด้วยตัว
เอง เรียกว่า “ สื่ออเนกทัศน์” หรือ “ มัลติมีเดีย” (Multimedia) ทำให้ประหยัดและมีประสิทธิภาพ
สรุปได้ว่า CAI คือ
- เป็นสื่อการเรียนการสอน ช่วยครูทำการสอน
- เนื้อหาในโปรแกรมจะเป็นหน่วย ๆ ตามบทเรียนนั้น ๆ
- นักเรียนสามารถนำไปทบทวนเนื้อหา ศึกษาด้วยตนเอง
- ครูผู้สอน หรือผู้มีประสบการณ์ในเนื้อหาวิชานั้น ๆ จะทำได้ดีที่สุด
การจัดทำ CAI ที่ดีนั้น ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ
1. นักวิชาการ (Academic Expert)
2. นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer)
3. นักสร้างสรรค์ (Producer)
4. นักศิลปะ (Artist)
ฉะนั้น CAI ก็คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยครูสอน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถทำ
หน้าที่แทนครูได้ทั้งหมด โดยที่ครูไม่ต้องทำอะไรเลย ครูยังจำเป็นที่ต้องคอยแนะนำและเตรียมเนื้อ
หา เพี่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ในเนื้อหานั้น ๆ ในเวลาจำกัด จึงกล่าวได้ว่า “ครูผู้สอน
จะเป็นผู้ที่ทำ CAI ได้ดีที่สุด”

คุณลักษณะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4 ประการ

1. สารสนเทศ (Information)
หมายถึง เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบเรียง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ การนำเสนออาจเป็นไปในลักษณะทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ ทางตรงได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์ เช่นการอ่าน จำ ทำความเข้าใจ ฝึกฝน ตัวอย่าง การนำเสนอในทางอ้อมได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกมและการจำลอง
2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualization)
การตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อประเภทหนึ่งจึงต้องได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลให้มากที่สุด
3. การโต้ตอบ (Interaction)
คือการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการเรียน การสอนรูปแบบที่ดีที่สุดก็คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้มากที่สุด
4. การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate Feedback)
ผลป้อนกลับหรือการให้คำตอบนี้ถือเป็นการ เสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์จะต้องมีการ ทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาหรือทักษะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
1. ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนอ่อน สามารถใช้เวลานอกเวลาเรียนในการฝึกฝนทักษะ และเพิ่มเติมความรู้ เพื่อปรับปรุงการเรียนของตน
2. ผู้เรียนสามารถนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ในการเรียนด้วยตนเองในเวลา และสถานที่ที่สะดวก
3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะจูงใจผู้เรียนให้เกิดความกระตือรือร้น สนุกสนานไปกับการเรียน

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ขนาดภาพมุมกล้อง

ขนาดภาพ
หมายถึง บริเวณของภาพที่ถ่าย มักจะเรียกว่า ช็อต (Shot) ประกอบด้วยขนาดต่างๆ ดังนี้
1. ภาพขนาดที่ถ่ายไกลมาก (Extreme Long Shot = ELS)
เป็นภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์กว้าง และถ่ายจากที่ไกล อาจจะถ่ายจากที่สูงด้วย เพื่อให้เห็นความยิ่งใหญ่ของสถานที่ ภาพขนาดนี้มักใช้เป็นภาพเปิดเรื่องและแนะนำสถานที่ที่เรื่องราวนั้นๆ เกิดขึ้น
2. ภาพถ่ายไกล (Long Shot = LS)
เป็นภาพที่ถ่ายให้ครอบคลุมบริเวณพื้นที่ที่เกิดเหตุการณ์ ถ้าเป็นภาพคนจะถ่ายเต็มตัว
3. ภาพถ่ายปานกลาง (Medium Shot = MS)
ถ้าเป็นภาพคนจะเป็นภาพครึ่งตัว
4. ภาพใกล้ (Close Up = CU)
ถ้าเป็นภาพคนจะถ่ายจากไหล่ขึ้นไปถึงศีรษะ เพื่อแสดงให้เห็นความรู้สึกของผู้แสดง หรือรายละเอียดของสิ่งที่นำเสนอให้เห็นรายละเอียดชัดเจนยิ่งขึ้น
5. ภาพใกล้มาก (Extreme Close Up = ECU)
เป็นภาพที่ถ่ายใกล้มาก เน้นเฉพาะจุดที่ต้องการจะเน้น เช่น เน้นที่ตาหวานเยิ้ม แสดงถึงตาที่มีความรัก ตาที่แดง มีน้ำตา แสดงถึงความเศร้าโศก

ภาพมุมกล้อง

Posted by Picasa

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การผลิตสื่อมัลติมิเดียกับเว็บ3.0

การผลิตสื่อมัลติมีเดียมีความสัมพันธ์กับ Web 3.0 อย่างไร

การผลิตสื่อมัลติมีเดียนั้นมีความสัมพันธ์กับ Web 3.0 โดยเมื่อมีการผลิตสื่อมัลติมีเดียขึ้นในลักษณะของสื่อผสม เนื่องจากประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดีย ที่สามารนำเสนอเนื้อหาได้ทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดีทัศน์ และอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประจวบเหมาะสมระบบติดต่อผู้ใช้ (GUI: Graphics User Interface) ที่ทำให้ผู้ใช้มีความสะดวกในการใช้งาน สร้างสรรค์งาน ทำให้บทบาทของสื่อฯ มีมากขึ้นตามลำดับ มีการนำสื่อมัลติมีเดีย มาประยุกต์ใช้กับงานต่างๆ มากมาย เช่น การเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ การนำเสนอข้อมูล การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น จึงจำเป็นอย่ายิ่งในการนำเอา Web 3.0 มาใช้เพื่อช่วยพัฒนาเว็บไซต์ กลายเป็น อ่าน/เขียน/จัดการ ได้สามอย่างพร้อมกัน (read-write-execute)คราวนี้ความสามารถของมันก็จะมากมายมหาศาล แทนที่จะเข้าไปอ่านและเพิ่มข้อมูล เราก็จะสามารถปรับแต่งแก้ไขข้อมูลหรือระบบได้เองอย่างอิสระมากขึ้น และเชื่อมโยงข้อมูลใน web ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกันทั้งภายใน web หรือภายในเครือข่ายของโลก ซึ่งมองไปแล้วมันก็คือ Database ของโลก


ประโยชน์

1. Semantic Web เป็นระบบที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ทั้งที่อยู่ในเว็บของผู้พัฒนาและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ให้มีความสัมพันธ์กันซึ่งจะทำให้ระบบฐานข้อมูลมีขนาดใหญ่มากๆ หรืออาจทำให้เกิดฐานข้อมูลโลก (Global Database) ไปเลยก็ได้

2. Composite Applications เป็นการผสมผสาน Application หรือโปรแกรม หรือบริการต่างๆ ของเว็บ ที่มาจากแหล่งต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อประโยชน์ของผู้ใช้งานนั้นเอง

3. ช่วยในการเชื่อมโยงข้อมูลได้หลายเว็บ

4. ช่วยในการนำเสนอสื่อมัลติมีเดียที่ผลิต

5. ช่วยในการเชื่อมโยงข้อมูลไว้หลายเว็บ

แนวโน้มของการผลิตสื่อ

ในอนาคตข้างหน้า ในการผลิตสื่อมัลติมีเดียจะเป็นที่นิยมกันมากเป็นการนำเอาสื่อหลายๆอย่างมารวมกัน และรวมเอาข้อมูลที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้มานำเสนอ มีการนำไปใช้กับยุคของเว็บ 3.0 นี้เองที่มีความฉลาดล้ำหน้าไปอย่างมาก และความฉลาดของมันนี่เองจะนำซึ่งความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และท้าทายเหล่าผู้พัฒนาเว็บไซต์และผู้ใช้มีจัดทำเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพ ต่อไปในอนาคต

อ้างอิง

http://www.computers.co.th/blog/?p=7

http://tsumis.tsu.ac.th/tsukm/UploadFolder%5C2-1.pdf

http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=4f6aba6911afa90d

http://learning.pitlokcenter.com/captivate/train-duty.htm